คิดถึงวิทยา (๒๕๕๗) เราจะ(เพ้อ)ฝันไปด้วยกัน
จากการสังเกตภาพยนตร์ไทยทั้งที่ได้ดู หรือไม่ได้ดูแต่ก็เฝ้าสังเกตมาโดยตลอดจากหน้าหนัง ตัวเรื่อง หรืออะไรก็ตาม ทำให้เห็นว่า ภาพยนตร์กระแสหลักของไทยโดยส่วนมาก จะวางบริบทของตัวเรื่องให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกอินกับตัวละครไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง คล้ายคลึงกับเพลงรักต่างๆ ที่เขียนบทเพลงขึ้นมาเพื่อให้ผู้ชมบอกว่า “เฮ้ยเพลงนี้โดยหวะ” “เพลงนี้ใช่เลย” ซึ่งแน่นอนหนังก็ใช้วิธีการคล้ายคลึงในการสร้างตัวละครเพื่อให้คนทั่วไปรู้สึกร่วมได้ เช่น ให้ตัวละครหลักเป็นเพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน รักสามเส้า สาววัยทำงาน หรืออะไรก็ตาม ซึ่งผู้สร้างภาพยนตร์ศึกษาพบเห็นประสบการณ์เหล่านี้แล้วนำมาปรับใช้ให้กลายเป็นภาพยนตร์ - สำหรับ คิดถึงวิทยา แม้ไม่ได้วางอยู่บนการมีประสบการณ์ร่วมกับผู้ชมโดยทั่วไปทั้งหมด แต่ก็ให้เครดิตว่านำมาจากแรงบันดาลใจของชีวิตครูจริงๆ ที่สามารถพบรักกันเพียงแค่อ่านไดอารี่ โดยยังไม่ได้พบเจอตัวเป็นๆด้วยซ้ำไป
จากการสังเกตภาพยนตร์ไทยทั้งที่ได้ดู หรือไม่ได้ดูแต่ก็เฝ้าสังเกตมาโดยตลอดจากหน้าหนัง ตัวเรื่อง หรืออะไรก็ตาม ทำให้เห็นว่า ภาพยนตร์กระแสหลักของไทยโดยส่วนมาก จะวางบริบทของตัวเรื่องให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกอินกับตัวละครไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง คล้ายคลึงกับเพลงรักต่างๆ ที่เขียนบทเพลงขึ้นมาเพื่อให้ผู้ชมบอกว่า “เฮ้ยเพลงนี้โดยหวะ” “เพลงนี้ใช่เลย” ซึ่งแน่นอนหนังก็ใช้วิธีการคล้ายคลึงในการสร้างตัวละครเพื่อให้คนทั่วไปรู้สึกร่วมได้ เช่น ให้ตัวละครหลักเป็นเพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน รักสามเส้า สาววัยทำงาน หรืออะไรก็ตาม ซึ่งผู้สร้างภาพยนตร์ศึกษาพบเห็นประสบการณ์เหล่านี้แล้วนำมาปรับใช้ให้กลายเป็นภาพยนตร์ - สำหรับ คิดถึงวิทยา แม้ไม่ได้วางอยู่บนการมีประสบการณ์ร่วมกับผู้ชมโดยทั่วไปทั้งหมด แต่ก็ให้เครดิตว่านำมาจากแรงบันดาลใจของชีวิตครูจริงๆ ที่สามารถพบรักกันเพียงแค่อ่านไดอารี่ โดยยังไม่ได้พบเจอตัวเป็นๆด้วยซ้ำไป
นอกจากตัวละครที่ผู้สร้างภาพยนตร์มักจะหยิบจับหรือได้แรงบันดาลใจของชีวิต
จริงของคนแล้ว สิ่งหนึ่งที่ค่ายต่างๆ โดยเฉพาะหนังรักค่าย GTH
มักมีจุดเด่นคือ การหยิบจับสภาพแวดล้อมบริบทของคน ในภูมิหลังต่างๆ เช่น
อาชีพ อายุ การดำรงอยู่อาศัย และรสนิยม ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ GTH
ประยุกต์ใส่เข้าไปในหนังของเขาอยู่ตลอดเวลา เช่น
ไข่ย้อยที่หลงรักเพื่อนสนิทในบริบทของนักศึกษาในม.เชียงใหม่ - ลี่
สาวออฟฟิศวัยขึ้นเลข 3
ที่ยังหาแฟนไม่ได้จนพบหนุ่มวิศวะที่ทำงานสลับห้วงเวลากับเธอ
หรือกระทั่งเรื่องคิดถึงวิทยาเอง
ที่ใช้สภาพบรรยากาศแพกลางน้ำอันเปลี่ยวเหงาตัดขาดสิ้นจากแสงสีน้ำไฟและ
สัญญาณโทรศัพท์
เพื่อทำกระตุ้นให้ตัวละครเกิดความเหงาจนเป็นผลให้ได้พบเจอบาง
สิ่ง(ไดอารี่)เพื่อเติมเต็มชีวิตของตัวเองได้
ทั้งนี้จุดเด่นของ GTH
ไม่ว่าจะเป็นเหตุบังเอิญหรือจงใจ เราจะเห็นว่าการสร้างตัวละครหรือบรรยากาศ
ก็ตามแต่นี้ ผูกติดเชื่อมโยงกับรสนิยมกระแสหลักทั้งสิ้น
ไม่ว่าจะเป็นระดับประสบการณ์ตรง
หรือประสบการณ์แบบนึกคิดหรือต่อเติมจากสิ่งที่ปรากฎจากสื่อโดยทั่วไป
หรือจะกล่าวโดยรวบรัดว่า GTH มีสิ่งที่มักพบเห็นได้เสมอคือ
การทำให้ความนึกคิดของชีวิตประจำวันอันธรรมดา
หรือรสนิยมของคนโดยทั่วไปถูกเต็มเติมโดยสิ่งที่ภาพยนตร์กำลังประเคนนำเสนอ
ให้เพื่อสนองความรู้สึกผู้ชมที่เป็นฐานคนดู
ได้รู้สึกหรือเติมเต็มการมีอารมณ์ร่วม
เป็นประสบการณ์ทางแฟนตาซีที่ชีวิตจริงอาจไม่ได้รับการสัมผัสหรือถูกตอบสนอง
เท่าที่ควร
การกล่าวเช่นนี้จึงทำให้เห็นว่า ภาพยนตร์ GTH
จึงเป็นเหมือนความปรารถนาของคนสามัญโดยทั่วไปที่มีห้วงอารมณ์ความต้องการแบบ
ในหนัง แต่ไม่สามารถเติมเต็มได้อย่างไร้ขีดจำกัดในความเป็นจริง
ทำให้หนังจึงมีฐานะพิเศษคล้ายโลกแห่งความฝันที่พยายามจะปรนเปรอเติมเต็มผู้
ชมคล้ายกับว่าผู้ชมกำลังได้รับมันอยู่จริงๆ
หรือเป็นการหลบหนีตัวเองจากโลกแห่งความจริงนั่นเอง
คิดถึงวิทยากำลังทำให้โลกที่คนทั่วไปในยุคปัจจุบัน ไม่สามารถกลับไปหาได้
ให้หวนกลับมา (อาจจะต้องจำกัดว่ามันเป็นโลกแบบคนเมือง) ยกตัวอย่าง เช่น
การขาดปัจจัย 4
ซึ่งเป็นเรื่องขี้ประติ๋วในสภาพสังคมปัจจุบัน ได้ถูกทำให้กลายเป็นเรื่อง
ยิ่งใหญ่(อีกครั้ง) และยังทำให้อะไรหลายอย่าง เช่น การขาดน้ำขาดไฟ
ขาดโทรศัพท์ การอยู่บ้านริมน้ำลมเย็น สายลมเอื่อย กระตุ้นให้เกิดความเหงา
แถมยังได้มีไดอารี่
ที่ทำให้เกิดเวลาห้วงรักคิดคำนึงถึงใครสักคนที่เราไม่สามารถบ่งชี้ได้เหมือน
เป็นความรู้สึกที่ผ่านเข้ามาอย่างเยียบเย็น เหงาหงอย แต่โครตโรแมนติกจังเลย
สิ่งเหล่านี้เป็นการทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างแลดูกลายเป็นโลกแห่งความโรแมนติก
ขึ้นมาในบัดดล เป็นสิ่งที่ความรู้สึกในชีวิตจริงโหยหา
แต่ไม่เคยได้รับการเติมเต็ม นอกเหนือจากการเสียเงินไปพักผ่อนเท่านั้น
แต่ได้ถูกนำเสนอเพื่อสนองผู้ชมไว้ในภาพยนตร์เรื่องนี้
ดังนั้นในโลกแห่งปรารถนา แฟนตาซี เพ้อฝัน ของภาพยนตร์
มันจึงดูเป็นสิ่งที่ดำเนินไปได้เรื่อยๆ ตอบสนองอารมณ์ของผู้ชม
ไม่ว่าจะเป็นความสมัครสมานสามัคคีในคราวที่เกิดปัญหา
หรือความรักใคร่กลมเกลียว
การเรียนการสอนของคุณครูที่ดูมีจิตวิญญาณการเป็นครูที่มากเกินไป(เป็นครูที่
ยิ่งกว่าครูจริงๆ)
หรือการทำให้ชีวิตของตัวละครสิ้นหวังเศร้าสร้อยท้อถอยเพื่อให้กลายเป็นความ
โรแมนติกที่ดำรงเดินอยู่ในเส้นเรื่องหลักที่ภาพยนตร์กำลังนำทาง เช่น
การที่ให้ตัวละครผิดหวังจากความรัก หรือความรักมันไม่มั่นคง แฟนทิ้ง
แฟนไม่เข้าใจ
เพื่อให้ไดอารี่แห่งนี้มันสำคัญกับชีวิตและเป็นเหมือนคัมภีร์ไปโดยปริยาย
อย่างไรก็ตามก็ตอบสนองสิ่งเหล่านี้ มันกลับเป็นข้อเสียในตัวมันเอง
คือมันช่าง ทำให้ชีวิตดูเพ้อฝัน เลื่อนลอย และไร้ความเป็นธรรมชาติ
และการตัดสินใจทุกอย่างก็ดูเกินเลยไปเสียหมด และโลเล
จนผู้ชมอาจรู้สึกไม่สามารถคาดเดาตัวละครได้เพราะมันวางอยู่บนอารมณ์เป็นใหญ่
จนไม่ปล่อยให้เหตุผลมีพื้นที่ยืนอยู่เลยในสังคม
อีกทั้งเหตุการณ์ของชีวิตมันพลิกผันตะแคงได้ตลอดเวลาเพื่อทำให้ชีวิตมันดู
กลายเป็นความไม่แน่นอน หรือเพื่อต้องการสร้างอารมณ์แบบรถไฟเหาะตีลังกา
เพื่อให้ผู้ชมลุ้นตาม
ซึ่งมันก็เป็นการจัดวางของคนเขียนบทหรือผู้กำกับจงใจทำให้หวังผลทางอารมณ์จน
ไม่มีความเป็นธรรมชาติหลงเหลืออยู่เลย
อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ
เมื่อมันต้องกาเรียกร้องให้ผู้ชมรู้สึกต่อสิ่งที่หนังต้องการจะนำเสนอแล้ว
นั้น
มันจึงต้องระดมศิลปะภาพยนตร์ทุกศาสตร์ทุกแขนงมาแบสร้างกันเพื่อเร่งเร้า
ดึงอารมณ์ของผู้ชมอย่างทุกกระเบียดนิ้ว
ซึ่งด้วยความสามารถทางโปรดักชั่นของคิดถึงวิทยาที่อยู่ในค่ายที่จัดได้ว่า
เป็นเบอร์หนึ่งของประเทศไทย จึงมีประสิทธิภาพแบบไม่มีข้อโต้แย้ง
และซีนที่อยู่ระดับอ้าปากค้างคือซีนที่ครูสองและเด็กๆกำลังทำความสะอาดหลัง
พายุกระหน่ำ
การเคลื่อนกล้องเหมือนจานบินล่องลอยโดยตัดต่อในการเชื่อมช็อตได้อย่าง
มหัศจรรย์ (ไม่แน่ใจว่าศัพท์ว่าการตัดต่อแบบนี้เรียกว่าอะไร
แต่เห็นชัดในหนังเรื่อง Pan's Labyrinth(2006)) ซึ่งพอมันมาอยู่ในเรื่อง
คิดถึงวิทยา ที่บริบทมันหลุดออกไปจากความจริงมากแล้ว
ยิ่งเพิ่มความความแฟนตาซีเข้าไปแบบจัดเต็ม
จนเกือบคิดว่าแพริมน้ำอยู่ในโลกยูโธเปีย ในสรวงสรรค์ ที่มีแต่ความสุข
แบบโรแมกติกอันงดงามกันเลยทีเดียว(วิธีการเชื่อมช็อตแบบนี้อยู่ในหนัง
แฟนตาซีโดยส่วนมาก)
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันยิ่งทำให้สอดคล้องกันอย่างดีว่า ขณะที่ผู้สร้าง
สร้างหนังที่ต้องการตอบความรู้สึกคนดูที่เป็นสิ่งที่ไม่มีทางเกิดขึ้นจริง
หรือเป็นเรื่องเพ้อฝันทางการปรารถนา
(ในความหมายที่ชีวิตดูเป๊ะและลงตัวสุดแสนโรแมนติกไปทุกอย่างในพล็อตเรื่อง
หลักของภาพยนตร์) และระดับงานสร้างที่ประดิษฐ์ประดอยแบบเกินความจำเป็น
และใช้จังหวะของการเดินเรื่องของตัวละครในแบบอารมณ์ความรู้สึกนำ
ซึ่งภาพยนตร์ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกหรือเกิดความรู้สึกร่วมไปด้วยโดยธรรมชาติ
แต่อย่างใด
ซึ่งจากการจัดการอย่างไม่พอดีของการใช้ศิลปะของภาพยนตร์ที่มากเกินจำเป็น
เป็นเหตุให้ตัวหนังสิ้นสลายความเป็นตัวหนังในตัวเองโดยที่สุด
หรือไม่ทำให้เกิดคล้อยตามเพื่อเข้าสู่จิตวิญญาณของตัวละครได้เลย
ประหนึ่งผู้สร้างมั่นใจตัวเองมากเกินไปและจัดการผู้ชมแบบไม่ใยดีไม่ปล่อยให้
ความรู้สึกของผู้ชมได้ล่องลอยและมีพื้นที่ว่างชั่ววินาทีให้เชื่อมโยง
ระหว่างตัวละครและผู้ชม ได้ฉุกคิด หรือเป็นช่วงระยะเวลาผ่อนคลาย
มันจึงเหมือนหนังที่ฉุดดึงฉุดรั้งโดยใช้วิธีการทางภาพยนตร์เข้ามาจัดการผู้
ชมเสมือนว่าผู้ชมเป็นผู้ป่วยที่ต้องคอยป้อนข้าวป้อนน้ำตลอดทุกเวลานาทีของ
ภาพยนตร์
ทั้งๆที่ผู้เขียนคิดเห็นว่า ความมีเสน่ห์ของตัวละครหลัก ทั้ง ครูสอง ( บี้
สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว) และ ครูแอน (เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์)
ที่กำลังปรากฏแต่มันก็ถูกกดทับหายวับไป ด้วยงานสร้างที่แลดูไม่เป็นธรรมชาติ
ซึ่งน่าเห็นใจเพราะเป็นการสร้างหนังโรแมนติกที่ตัวละครไม่ได้เจอตัวต่อหน้า
กัน ทำให้ต้องหาลูกเล่นลูกล่อลูกชนต่างๆเข้ามาช่วย เช่น ซีนฝันคิดไปเอง
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ยิ่งทำให้หนังพร่าเลือนกลายเป็นสิ่งเพ้อฝัน
และไกลห่างจากการที่เราจะมีอารมณ์ร่วมและเก็บส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังไว้ในใจ
ทั้งหมดทั้งมวลจึงอาจกล่าวได้ว่า คิดถึงวิทยา
ไม่สามารถประสบผลสำเร็จทางประสบการณ์ร่วมทางอารมณ์อย่างที่หนังของค่าย GTH
เรื่องอื่นได้เบิกทางไว้เมื่อหลายๆปีก่อน
อีกทั้งมันยังแทบเป็นวิธีการย้ำซ้ำรอยเดิม จนรู้สึกว่า
หากเราเพิ่งได้มาดูหนัง GTH ไม่กี่เรื่องคงจะสุขใจ
แต่สำหรับผู้เขียนที่เคยดูหนัง GTH มาตั้งเรื่องแรกแฟนฉัน
หนังคิดถึงวิทยาจึงไม่ได้เติบโตเพิ่มเติมแต่อย่างใด
วิธีทางเดียวที่เราจะกระทำได้ คือ เราหวังว่า หนังเรื่องต่อไปของค่ายนี้
จะทำให้เราเกิดประสบการณ์ใหม่เหมือนที่เราเคยได้รับกับหนัง GTH
เรื่องแรกเมื่อนานมาแล้ว
นำเสนอข่าวโดย : Kittisuda .,
แหล่งที่มาข่าวโดย : สยามทาวน์ยูเอส