มุมฉลาด
ร้านใกล้ เรือนเคียง 336

บทความสำหรับฉบับนี้ เราจะคุยกันกับเรื่องที่เนื่องด้วยกฏหมาย ที่มีเนื้อหาไม่หนักมากจนเกินไปนัก แต่มีสาระน่ารู้ และควรใช้ความรอบคอบในการพิจารณาค่ะ สัปดาห์นี้ คลีนิคกฏหมาย โดยคุณ เจฟฟรีย์ ได้ให้ความรู้สำหรับท่านผู้อ่านที่กำลังตัดสินใจเลือก "บุคคล" ที่กำลังจะต้องทำหน้าที่ในการเป็น "ตัวแทน หรือ Representative" ให้กับท่านเพื่อมีอำนาจแทนท่าน ในการดำเนินการ ยื่นเอกสาร ติดต่อ และหรือเจรจาต่อรองในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีต่างๆ ที่เกี่ยวกับกฏหมายทุกประเภท ไม่เว้นแม้แต่ อิมมิเกรชั่น (Immigration) ค่ะ

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อท่านได้เข้าไปปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับ อิมมิเกรชั่น และตกลงใจเพื่อที่จะดำเนินเรื่องผ่านทนายความในสำนักงานใดสำนักงานหนึ่งแล้ว ทนายความจะต้องให้ท่านเซนต์เอกสารเพื่อแต่งตั้งให้ทนายผู้นั้นเป็นผู้ดำเนินเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวกับเรื่องที่ท่านต้องการแทนท่าน โดยท่านเองจะต้อง "ส่งเอกสาร หลักฐานทั้งหมด และหรือให้รายละเอียดที่เกี่ยวกับเรื่องที่ท่านว่าจ้างทนาย เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินเรื่องนั้นจนกว่าจะเสร็จสิ้น" ซึ่งเอกสารฉบับนี้นี่เอง ที่บุคคลผู้ไม่ใข่ทนาย ไม่สามารถจะให้ท่านเซนต์เอกสารฉบับดังกล่าวนี้ได้ เพราะเอกสารฉบับนี้ นอกจากจะดูเหมือนว่า เป็นการบ่งบอกให้ท่านได้ส่งเอกสาร และหรือรายละเอียดต่างๆ กับทางทนายอย่างไม่ปิดบังแล้ว ในขณะเดียวกัน ก็เป็น "ตัวผูก" ทนาย ไว้กับงานที่ท่านได้ว่าจ้างให้ดำเนินเรื่องว่า "ต้องดำเนินเรื่องจนกว่างานที่ท่านว่าจ้างทนายได้ตกลงกันไว้ จะเสร็จสิ้น " เช่นกัน  และเอกสารที่ทางสำนักงานทนายความใช้ตัวนี้ ที่เราสามารถเรียกได้อีกอย่างว่า " แบบฟอร์มการแต่งตั้งทนาย หรือ G-28 " นั่นเองค่ะ  แบบฟอร์ม G-28 เป็นแบบฟอร์มที่สำคัญ เนื่องจากว่า เมื่อมีการยื่นเอกสารไปที่ immigration แล้วเจ้าหน้าที่เห็นแบบฟอร์มนี้ ก็จะให้เครดิตกับเอกสารที่ยื่นมานี้โดยอัตโนมัติในระดับหนึ่ง เพราะทนายเสมือนเป็นตัวแทนของผู้รู้กฏหมายที่ย่อมจะทำงานด้วยความรู้ความชำนาญเฉพาะทางในการส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาเรื่องนั้นๆได้เป็นส่วนมาก ซึ่งหลังจากนี้หากมีการขอเอกสารเพิ่มเติม (Request of evidence) เจ้าหน้าที่ก็สามารถส่งเอกสารมาเพื่อขอกับทางทนาย ตามที่มีชื่อปรากฏอยู่ในแบบฟอร์ม G-28  เพื่อให้ทนายได้ติดต่อกับลูกความเพื่อขอเอกสาร ส่งเพิ่มเติมกลับไปยังเจ้าหน้าที่ Immigration เพื่อใช้ในการพิจารณาอนุมัติเรื่องนั้นๆ  และในทางตรงกันข้าม หากทนายทำหน้าที่ผิดพลาดไปโดยความไม่รู้ แล้วอ้างว่ารู้ หรือดำเนินการไปโดยความประมาท ลูกความ หรือผู้ว่าจ้าง จะใช้แบบฟอร์มนี้ ในการฟ้องร้องเพื่อเรียกค่าเสียหายต่อทนายความนั้นนั่นเอง

 ทนายความ (Lawyer) คือใครกัน มีบทบาทอย่างไร และการเลือกทนาย

    คุณเจฟฟรีย์ บอกว่าสำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา การจะประกอบอาชีพเป็น ทนายความ ได้นั้น จะต้องจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยทางด้านกฏหมายซึ่งต้องใช้เวลาเรียนถึง 8 ปี และต้องสอบผ่านด้านทนายความจากรัฐ (State) ตามที่อยู่ของตนเอง เพื่อให้ได้รับใบอนุญาตในการประกอบอาชีพทนายความ จากนั้น ต้องสอบเพื่อให้ได้ใบอนุญาตของรัฐบาลกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา (Federal) อีก ดังนั้น ทนายความในระบบที่ถูกต้อง ควรจะต้องได้รับอนุญาตให้ว่าความ โดยได้รับการรับรองจากสภาทนายความฯ ของแต่ละรัฐนั่นเอง

   ผู้ช่วยทนายความ  (Paralegal) หรือ ทนายฝึกหัดนั้นต้องผ่านการศึกษา 1 ปี ไม่ต้องมีใบอนุญาต และไม่สามารถว่าความเรื่องกฏหมาย หรือแนะนำเรื่องเกี่ยวกับกฏหมายต่างๆ ให้กับลูกความได้ นอกจากได้รับการให้ความเห็นมาจากทนายความเท่านั้น และจากตรงจุดนี้นี่เอง ที่เป็นช่องทางของ " ผู้ที่อาสารับจ้างยื่นเรื่องดำเนินการทางด้านกฏหมาย "  ที่ไม่ใช่ทนาย และผู้ช่วยทนาย แต่อาศัยความไม่ซับซ้อนมากนักของขั้นตอน  รับจ้างทำเอกสาร และยื่นเรื่องให้ ซึ่งในสังคมไทยที่นี่ เรามักจะไม่ให้ราคากับผู้ที่รับจ้างยื่นเอกสารประเภทนี้มากนัก เนื่องจาก1. ประเพณีการดำเนินติดต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับคดีความ สำหรับประเทศอเมริกา การว่าจ้าง "ทนายความ" เป็นที่ยอมรับกันมากกว่า  2. หากมีความผิดพลาดในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งเกิดขึ้น มักจะมีปัญหาต่างๆ ตามมา ซึ่งบางครั้งอาจส่งต่อไปให้ทนายความแก้ไขได้ทัน แต่บางเรื่องอาจต้องเสียทั้งเวลา และเงิน หรืออาจถูกดำเนินคดีตามกฏหมายเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ในขณะที่ผู้อาสารับจ้างยื่นเรื่องนั้น ก็ไม่สามารถจะเป็นตัวแทนลูกความเพื่อแก้ต่างในเรื่องที่เกิดขึ้นได้เหมือนกับ ทนายความ แต่ก็มีบ้างที่   " ผู้ที่อาสารับจ้างยื่นเรื่องดำเนินการทางด้านกฏหมาย "  สามารถดำเนินเรื่องไปอย่างเสร็จสิ้น แต่ก็อยู่บนความเสี่ยงที่ผู้ว่าจ้างพร้อมที่จะเสี่ยงเท่านั้น   
  
  บทบาทหน้าที่ของทนายความโดยรวมนั้น คุณเจฟฟรีย์ ได้ให้ข้อสังเกตุว่า โดยส่วนมากแล้วคนทั่วไปมักเข้าใจหน้าที่ของทนายความ แต่เพียงว่า เราต้องการทนายความ ก็ต่อเมื่อมีคดีความเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น แต่โดยความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้นเสมอไป เพราะทนายความสามารถมีบทบาทให้บริการได้หลายอย่าง  " แม้ไม่ต้องขึ้นศาล " เช่น การว่าจ้างทนายสำหรับงานกฏหมายในด้านอื่นๆ ที่อาจเป็นการดำเนินงานก่อนที่จะมีคดีเกิดขึ้น  หรือเป็นการป้องกัน อาทิเช่น

-  การว่าจ้างเพื่อดำเนินการในเรื่องนิติกรรมสัญญา ซื้อ - ขาย โดยเฉพาะหากมีความเกี่ยวเนื่องกับมูลค่าสูงๆ เช่นอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ บ้าน ที่ดิน ร้านค้า หรือแม้กระทั่งรถยนต์ เพราะปัจจุบันมีการหลอกลวง ฉ้อโกงในรูปแบบต่างๆ เกิดขึ้นมาก  

- การทำพินัยกรรม หรือการยกทรัพย์สินให้บุตร ลีฟวิ่งทรัสต์ ฯลฯ   เพื่อเป็นการบอกความต้องการของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ที่ปรารถนาจะยกทรัพย์นั้นให้กับผู้ใด หรือเป็นการทำให้เกิดความเข้าใจกัน กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเจ้าของทรัพย์สิน โดยมีทนายความเป็นพยานรับรู้ และดำเนินการตามที่ผู้ว่าจ้าง หรือผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินต้องการ ฯลฯ

- การว่าจ้างทนายความที่ทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาประจำบริษัท องค์กร และหน่วยงานราชการต่างๆ โดยทนายประเภทนี้ จะให้คำแนะนำในปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฏหมาย กรณีพิพาท หรือเตรียมการในขั้นตอนต่างๆ ก่อนที่จะส่งคดีขึ้นฟ้องต่อศาล ในทางแพ่ง และทางอาญา ตลอดจนการเจรจา หรือการประนีประนอม

   การเลือกทนายความ และราคา การให้ความสำคัญกับการเลือกทนายความจึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบ และควรจะเลือกผู้ที่เชี่ยวชาญ (Specialty) โดยเฉพาะหากคดีที่ต้องการทนายความนั้น เป็นคดีที่มีความสำคัญ ซึ่งอาจดูได้จากประวัติในการทำคดี หรืออาจตรวจสอบได้จาก Consumer Attorney Association ซึ่งจะมีการเลือกทนายความดีเด่นประจำปี หรือหน่วยงาน Law Dragon, Super Lawyer ที่ได้จัดอันดับไว้ใน Los Angeles Magazine and The American Trial Lawyers Association  หรือสามารถโทรไปที่สภาทนาย ( Legal Bar Association )ที่ 800-317-1377 ก็ได้เช่นกัน

 ในส่วนของราคานั้น คุณเจฟฟรีย์บอกว่า คนส่วนมากยังเข้าใจว่าการว่าจ้างทนายนั้นอาจแพง เหมือนกับ หมอ หรือวิศวกร แต่ความเป็นจริงแล้ว ทนายความจะคิดราคาเป็นรายชั่วโมง หรือตามชิ้นงาน ซึ่งในเรื่องของค่าจ้างนั้น คุณเจฟฟรีย์แนะนำว่า ควรสอบถามให้แน่ใจก่อนตัดสินใจทำสัญญาแต่งตั้งทนาย แต่อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงเรื่องผลตอบแทนที่ได้คือความถูกต้อง และทุกสิ่งล้วนดำเนินไปตามขั้นตอนของกฏหมาย ที่ลูกค้า หรือลูกความมั่นใจได้ว่า ทนายความจะดำเนินเรื่องที่ได้รับการว่าจ้างนั้นจนกว่างานจะสำเร็จแล้ว ก็จัดว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สมเหตุ สมผล

   สำหรับท้ายคอลัมภ์นี้ คุณเจฟฟรีย์ ได้ฝากข่าวดีมายังท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านว่า ขณะนี้ทาง คลีนิคกฏหมาย จะมีการให้บริการทางโทรศัพท์ในการให้คำปรึกษาแบบเร่งด่วนสำหรับผู้ที่เดือดร้อน และต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน โดยจะให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และ " ฟรี " อีกด้วยค่ะ แต่หากท่านใดต้องการที่จะปรึกษาเป็นการส่วนตัวกับทนายความผู้เชี่ยวชาญอย่างมืออาชีพ ที่สำนักงานก็สามารถทำนัดเข้ามาได้เลยค่ะที่ 855-647-8366 หรือ 323-702-0788 ทางสำนักงานทนายความคุณ เจฟฟรีย์ ซี แจ็คสัน ยินดีเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหากฏหมายให้ทุกท่าน ทุกชุมชนอย่างเต็มความสามารถ และซื่อสัตย์ค่ะ

   เราต้องขอขอบคุณทางคลีนิคกฏหมาย เจฟฟรีย์ ซี แจ๊คสัน สำหรับสาระน่ารู้ที่เกี่ยวกับกฏหมายนะคะ ท่านผู้อ่านคะ กฏหมายนั้นถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้เราได้ใช้ชีวิตอยู่รวมกันในสังคมบนโลกอย่างสงบสุข  เราจึงควรเคารพกฏหมาย และรู้จักคุณค่าของการใช้กฏหมายเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม ในขณะที่ผู้ทำหน้าที่ใช้กฏหมาย ก็ควรนำกฏหมายนั้นมาใช้ด้วยความเคารพอย่างซื่อสัตย์ และสุจริต แล้วพบกับเรื่องราวดีๆ กับเราที่นี่ฉบับหน้าค่ะ







 




นำเสนอข่าวโดย : Kittisuda .,
แหล่งที่มาข่าวโดย : สยามทาวน์ยูเอส

แสดงความคิดเห็น

Name :

Detail :




ฉบับที่
619
siamtownus newspaper








Hots Clip VDO ดูทั้งหมด

ขออภัยสัญญาณ VDO มีปัญหากำลังดำเนินการแก้ไข