รอบรู้เรื่องกฏหมาย
5 ตัวบ่งชี้ระบุว่าบุคคลจัดเป็น “ผู้ไร้ความสามารถ” หรือไม่


                                                                                          

          เซบาสเตียน เมดเวย์ ทนายความผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลเซ็คเคียวริตี้ 

          แปลและเรียบเรียงโดย ธนัญธร ตามเสรี ผู้ช่วยทนายความไทย

          สำนักงานโซเชียลเซ็คเคียวริตี้กำหนด 5 หลักเกณฑ์ที่ใช้ระบุว่าบุคคลเป็นผู้ไร้ความสามารถตามที่ทางโซเชียลเซ็คเคียวริตี้กำหนดไว้ภายใต้กฎหมาย ดังนั้นเวลาท่านสมัครขอเงิน เอสดีไอ หรือ เอสเอสไอ นั้น ท่านจำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงข้อกำหนด 5 ข้อนี้ มีหลายกรณีที่ใบสมัครไม่ผ่านเนื่องจากผู้สมัครไม่สามารถแสดงหลักฐานหรือเหตุผลได้มากเพียงพอตามตามที่กฎระบุเอาไว้

          ขั้นตอนที่หนึ่ง

          ขั้นตอนแรกเกี่ยวข้องกับการประเมินว่าผู้สมัครสามารถปฏิบัติงานในส่วนที่สำคัญๆและเป็นประโยชน์หรือสร้างผลผลิตได้หรือไม่ กล่าวคือ เป็นขั้นตอนสำหรับตรวจสอบว่าผู้สมัครยังทำงานอยู่หรือไม่ ซึ่งงานในที่นี้จะต้องเป็นกิจกรรมที่เป็นหลักสำคัญของตัวงานนั้นๆ และก่อให้เกิดผลผลิตหรือประโยชน์ขึ้นมา กิจกรรมหรือผลงานที่ไม่ถือว่าเป็นหลักสำคัญ หรือ Substantial ได้แก่ กรณีที่ผู้สมัครไม่สามารถปฏิบัติงานหรือหน้าที่เบื้องต้นง่ายๆ ได้โดยปราศจากการควบคุมดูแลหรือความช่วยยเหลือมากไปกว่าที่คนปกติทั่วไปได้รับอย่างเป็นที่น่าพอใจ หรือในกรณีที่ผู้สมัครปฏิบัติงานหรือหน้าที่ให้นายจ้างได้อย่าง ไม่เป็นประโยชน์ หรือเป็นประโยชน์น้อย (ตามกฎหมายข้อ 20 C.F.R. 404.1573(b)) หน้าที่หรือเนื้องานไม่ถือว่าเป็นประโยชน์หรือก่อให้เกิดผลิตผลเมื่องานหหรือหน้าที่นั้นๆ ไม่มีจุดประสงค์เพื่อเงินหรือผลกำไร (ตามกฎหมายข้อ (20 C.F.R.404.1572(b)) ดังนั้นจะไม่ถือว่าบุคคลเป็นผู้ไร้ความสามารถหากบุคคลนั้นๆ ยังสามารถทำงานมากกว่าระดับที่ต่ำที่สุดเพื่อรายได้ตอบแทนหรือเพื่อผลกำไรได้

          ขั้นตอนที่สอง

          ขั้นตอนที่สองเกี่ยวข้องกับการประเมินว่าอาการบกพร่องของผู้สมัคร “ร้ายแรง” มากเพียงใด กล่าวคือ ในขั้นตอนนี้เราจะมาดูกันว่าผู้สมัครมีขีดความสามารถในการปฏิบัติงานจำกัดมากเท่าใดอันเนื่องมาจากอาการบกพร่องนั้นๆ ใจความสำคัญอยู่ที่ผู้สมัครเพียงต้องพิสูจน์ว่าความสามารถในการปฏิบัติงานของตนลดลงอันเนื่องมาจากอาการเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บที่ตนเองเป็น หากอาการที่ท่านเป็นทำให้ท่านไม่สามารถปฏิบัติงานหรือหน้าที่ที่ท่านเคยปฏิบัติได้ตามปกตินั้น การที่ใบสมัครจะถูกปฏิเสธก็มีความเป็นไปได้สูงและน่าจะกลับไปเป็นเคสอุทธรณ์ได้

          ขั้นตอนที่สาม

          ขั้นตอนที่สามเกี่ยวข้องกับการตัดสินว่าอาการบกพร่องของผู้สมัครจัดว่าเป็นอาการทางการแพทย์ที่อยู่ภายใต้กฎของโซเชียลเซ็คเคียวริตี้หรือไม่ ซึ่งท่านสามารถเข้าไปดูลิสต์อาการและโรคต่างๆ ได้ที่เว็บไซต์ของโซเชียลเซ็คเคียวริตี้ http://www.socialsecurity.gov/disability/professionals/bluebook/listing-impairments.htm และในส่วน Apendix 1 ของกฎหมายข้อ 20 C.F.R ส่วนที่ 404 ส่วนย่อย B หากอาการของท่านตรงกับเกณฑ์เหล่านั้นก็จัดว่าท่านเป็นผู้ไร้ความสามารถและไม่จำเป็นต้องมาวิเคราะห์เพิ่มเติมอีก หากอาการของท่านตรงกับกฎเกณฑ์ดังกล่าวแล้วเคสของท่านยังถูกปฏิเสธอีก ท่านควรจะติดต่อทนายความเพื่อทำเรื่องอุทธรณ์ต่อไปโดยทันที

          ขั้นตอนที่สี่

          ในกรณีที่ท่านไม่ผ่านขั้นตอนที่สาม หรืออาการของท่านไม่ตรงกับเกณฑ์ของทางโซเชียลเซ็คเคียวริตี้ ท่านต้องดำเนินเรื่องต่อไปและต้องผ่านขั้นตอนที่สี่ และขั้นตอนที่ห้า ไปให้ได้ สำหรับขั้นตอนที่สี่นั้นจะดูว่าท่านมีความสามารถปฏิบัติงานใดๆ ในอดีตที่เกี่ยวข้องที่ท่านเคยทำ กล่าวคือจะดูว่าท่านสามารถปฏิบัติงานที่ท่านเคยทำมาก่อนซึ่งรวมถึงงานพาร์ทไทม์แม้ว่าท่านจะมีอาการบกพร่องดังกล่าว

          ขั้นตอนที่ห้า

          หากท่านไม่สามารถทำงานใดๆ ที่ท่านเคยทำมาในอดีตได้เลย ทางโซเชียวเซ็คเคียวริตี้จะดูว่าท่านสามารถหางานอื่นทำได้ไหมโดยอาจจะเป็นงานใหม่ไปเลยก็ได้ ขั้นตอนนี้จัดว่าเป็นขั้นตอนที่ซับซ้อนมากที่สุดและต้องประเมินความสามารถและความรู้ทางอาชีพของผู้สมัครรวมถึงอาการเจ็บป่วยด้วย กล่าวคือ เมื่อวัดจากระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษ อายุ และประสบการณ์ทำงานแล้ว หากผู้สมัครหางานได้ยากมากเท่าใด ก็จะต้องพิสูจน์หลักฐานน้อยลงเท่านั้น ซึ่งผลการวินิจฉัยในส่วนนี้ค่อนข้างซับซ้อนและอาจต้องใช้ใบรับรองจากสถาบันอาชีพหรือผู้เชี่ยวชาญมาประกอบเป็นหลักฐาน

          บทสรุป

          หากท่านสมัครขอรับเงินจากโซเชียลเซ็คเคียวริตี้ในฐานะผู้ไร้ความสามารถ เช่น เอสดีไอ หรือ เอสเอสไอ ท่านควรคำนึงขั้นตอนทั้งห้านี้เอาไว้เวลาที่ท่านกรอกใบสมัคร หากท่านมีคุณสมบัติตรงตามขั้นตอนที่สามแล้ว ท่านควรเน้นย้ำลงไปในใบสมัครของท่านเลย อย่างไรก็ตามในบางกรณีแม้ว่าท่านจะมีคุณสมบัติตรงตามขั้นตอนทั้งห้านี้แล้ว แต่ทางโซเชียลเซ็คเคียวริตี้ก็ยังปฏิเสธใบสมัครของท่านอยู่ดี แต่ท่านไม่ควรยอมแพ้ ผู้สมัครที่เคยโดนปฎิเสธใบสมัครจำนวนเกินกว่าครึ่งสุดท้ายแล้วก็ผ่านมาได้ตอนที่ยื่นเรื่องอุทธรณ์ และแม้ว่าขั้นตอนอุทธรณ์จะยุ่งยากซับซ้อน ท่านก็สามารถติดต่อหาทนายมาช่วยท่านดำเนินเรื่องได้โดยที่ท่านไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ก่อน กล่าวคือ จะเสียค่าใช้จ่ายให้ทนายก็ต่อเมื่อทางโซเชียลตกลงให้เคสของท่านผ่านและยอมให้เงินท่านนั่นเอง หากเคสของท่านโดนปฏิเสธมา ท่านควรติดต่อทนายให้ช่วยท่านดำเนินเรื่องอุทธรณ์ภายใน 60 วันก่อนหมดเขต

          เชิญกด Like หน้าเฟซบุคของเราได้ที่ www.facebook.com/medveilaw และตามเราในทวิตเตอร์ได้ที่ www.twitter.com/medveilaw เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสารอัพเดทเกี่ยวกับกฎหมายปฏิรูปอิมมิเกรชั่นและการเปลี่ยนแปลงกฎหมายในปี 2014 นี้ นอกจากนี้ท่านยังสามารถเข้าไปอ่านบทความในบล็อกของทางเราบน Wordpress ได้ที่ www.medveilaw.wordpress.com

          

 




นำเสนอข่าวโดย : กนกอร เพ็ญรุ่งศศิธร,
แหล่งที่มาข่าวโดย : สยามทาวน์ยูเอส

แสดงความคิดเห็น

Name :

Detail :




ฉบับที่
619
siamtownus newspaper








Hots Clip VDO ดูทั้งหมด

ขออภัยสัญญาณ VDO มีปัญหากำลังดำเนินการแก้ไข