สถานภาพทางอิมมิเกรชั่นแบบผสมของผู้ที่ได้รับสิทธิ์ DACA หลายๆคนนั้นจัดว่าเป็นหนึ่งในปัญหาหลักที่ก่อให้เกิดความกังวลว่า จริงๆ แล้วอิมมิเกรชั่นออกกฎนี้เพื่ออะไร เนื่องจาก ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ DACA นั้นไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว พวกเขาล้วนแล้วแต่เป็นสมาชิกในครอบครัวและชุมชน และโชคชะตาของพวกเขาก็ผูกติดอยู่กับสถานภาพของพ่อแม่และสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ รวมถึงเพื่อนบ้านของเขาด้วย ซึ่งสิ่งนี้อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้มีคนสมัครขอสิทธิ์ DACA น้อย
ข้อมูลของสถาบัน Brookings Institution ระบุว่าในระหว่าง 15 สิงหาคม 2012 ถึง 22 มีนาคม 2013 มีผู้สมัครขอสิทธิ์ DACA ประมาณ 24 เปอร์เซ็นต์ โดย 36 เปอร์เซ็นต์อายุ 18 หรือต่ำกว่า ณ วันที่สมัคร และมี 40 เปอร์เซ็นต์ที่อายุระหว่าง 19 ถึง 23 ปีหรือมากกว่านั้น โดย ออดรีย์ ซิงเกอร์ เจ้าหน้าที่อาวุโสของสถาบันนี้กล่าวว่า กลุ่มอายุน้อยๆ จะมีตัวเลขมากกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากเป็นนักเรียนซึ่งมีเจ้าหน้าที่โรงเรียนช่วยทำเรื่องขอ DACA ให้ และเป็นกลุ่มที่กำลังจะสมัครเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาหรืออนุปริญญา รวมถึงผู้ที่สนใจจะเข้าไปอยู่ในกองทัพ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้พวกเขาอยากขอสิทธิ์จากโครงการนี้ ในทางกลับกัน ผู้สมัครที่มีอายุมากกว่า คือ 24 ปีขึ้นไป นั้นส่วนใหญ่จะไม่ได้เรียนหนังสือ จึงอาจไม่ได้รับทราบข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนี้
การรวมรวมเอกสารเพื่อแสดงว่าตนมีคุณสมบัติรับสิทธิ์นี้ อาจจะวุ่นวายและยุ่งยากสำหรับหลายๆ ท่าน เช่น ผู้สมัครที่อายุมากกว่าบางท่านอาจจะสับสนในการคำนวนระยะเวลาที่อยู่ในสหรัฐฯ ตั้งแต่ 2007 บางคนอาจไม่มีเอกสารแสดงตัวตนเช่นสูติบัตร โดยมีข้อที่น่าสนใจว่า ที่ผ่านมาในจำนวนเคสที่ถูกปฏิเสธนั้น มีเคสของผู้สมัครชาวแม็กซิกันน้อยกว่าจากผู้สมัครชาติอื่น สาเหตุที่สำคัญคือ สถานกงสุลแม็กซิโกได้เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ และระยะเวลาทำการเพื่อช่วยให้ผู้สมัครของชาติตนในการดำเนินเรื่องเอกสารต่างๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้โรบินฮูดของเขานั่นเอง
แต่ถึงแม้ว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติและมีเอกสารที่จำเป็นครบถ้วนก็ตาม ค่าใช้จ่ายก็อาจจะเป็นอุปสรรคสำคัญอยู่ดี หลายๆ ครัวเรือนต้องดิ้นรนอดออมเพื่อให้มีเงินจ่ายค่าดำเนินเรื่องราคา 465 ดอลลาร์ต่อเด็กหนึ่งคน (ซึ่งราคานี้รวมราคาค่าสมัครใบอนุญาตทำงานแล้ว) รวมถึงค่าทนายความอีก ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละเคสไปว่ายากง่ายต่างกันเท่าใด เพื่อช่วยให้ลูกค้าของเราในส่วนนี้ ทางสำนักงานของเรายินดีรับบัตรเครดิตทุกชนิด ทั้งยังมีระบบผ่อนชำระ และคิดค่าบริการแบบราคาเหมาจ่าย เพื่อช่วยให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสได้รับสิทธิ์จากโครงการนี้มากขึ้น
ในจำนวนผู้สมัครระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม 2012 และ 22 มีนาคม 2013 นั้น กลุ่มชาวแม็กซิกันเป็นกลุ่มที่สมัครเข้ามามากที่สุด และมีกรณีที่ถูกปฏิเสธเคสน้อยที่สุด ในขณะที่ผู้สมัครจากอเมริกากลาง ยุโรป เอเชีย และอัฟริกากลับมีจำนวนผู้สมัครเข้ามาน้อย ยกเว้นประเทศเกาหลีใต้ซึ่งจัดว่าเป็นประเทศที่มีผู้สมัครเข้ามามากเป็นลำดับที่ห้า สำหรับผู้สมัครชาวจีนนั้นยังไม่ได้ขึ้นมาถึงหนึ่งใน 25 ด้วยซ้ำไป
โครงการ DACA กำลังก้าวเข้าสู่ปีที่สองนี้ เราก็ยังคงสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนสมัครขอสิทธิ์จากโครงการนี้กัน เพื่อจะได้รับสิทธิประโยชน์ในด้านการทำงาน และการเดินทางออกนอกประเทศ ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่พวกเขาในอนาคตทั้งด้านการทำงานและการใช้ชีวิตโดยทั่วไป ถือว่า DACA เป็นวิธีแก้ปัญหาชั่วคราว จนกว่ากฎหมายปฏิรูปอิมมิเกรชั่นจะออกมา
กรุณาโทรติดต่อเราเพื่อนัดวันเข้ามาปรึกษาว่าท่านมีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ DACA หรือไม่ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะเราจะเก็บเป็นความลับ.
.........
เชิญกด Like หน้าเฟซบุคของเราได้ที่ www.facebook.com/medveilaw และตามเราในทวิตเตอร์ได้ที่ www.twitter.com/medveilaw เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสารอัพเดทเกี่ยวกับกฎหมายปฏิรูปอิมมิเกรชั่นและการเปลี่ยนแปลงกฎหมายในปี 2014 นี้ นอกจากนี้ท่านยังสามารถเข้าไปอ่านบทความในบลอคของทางเราบน Wordpress ได้ที่ www.medveilaw.wordpress.com
** บทความฉบับนี้ เขียนขึ้นโดยทนายความ เอเดรียน เมดเวย์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ท่านในด้านอิมมิเกรชั่นเท่านั้น ซึ่งมิใช่คำแนะนำทางกฎหมายที่สามารถปรับใช้ได้กับทุกคน กรณีที่ท่านต้องการคำแนะนำทางกฎหมายเพื่อวิเคราะห์ปัญหาของท่านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอิมเมเกรชั่นและการยื่นเรื่อง Bankruptcy กรุณาติดต่อสำนักงานกฎหมายเอเดรียน เมดเวย์ ตั้งอยู่ที่ 3055 Wilshire Blvd. ห้อง 900 ลอสเองเจลลิส แคลิฟอเนีย 90010 โทรศัพท์ (213) 984-4013 ผู้ช่วยทนายไทย (818) 495-4102 ต่อ 102 สำหรับลูกความต่างรัฐโทรฟรีที่ (866) 731-1967 หรือทางอีเมลล์ amedvei@medveilaw.com เวปไซต์ของสำนักงาน www.medveilaw.com ทาง Facebook www.facebook.com/medveilaw และทาง Twitter www.twitter.com/medveilaw ***