ข่าวกีฬา
เกร็ดความรู้จากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ฤดูหนาว ครั้งที่ 23














โดย ยงยุทธ สังขโกวิท

การสื่อสารและเทคโนโลยีในปัจจุบันก้าวหน้าขึ้นทุกวัน เชื่อว่าหลายท่านมีโอกาสติดตาม ได้ชมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ฤดูหนาว มีขึ้นที่เมือง PyeongChang เกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 9 – 25 กุมภาพันธ์ ที่จบด้วยดี แม้ว่าก่อนหน้านั้น ปัญหาเคลื่อนไหวทางการเมือง และความปลอดภัยของนักีฬา เป็นที่น่าวิตกให้กับหลายชาติ ไม่แน่ใจว่าจะมีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันหรือไม่ แต่ทุกอย่างผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

ผมถือโอกาสนำความรู้จากการค้นคว้ามาเสนอ อันเป็นวิทยาทานให้กับอนุชนรุ่นหลังและผู้สนใจกับการแข่งขันมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่เวียนมาถึงอีกครั้งหนึ่ง

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ครั้งแรกเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1924 ที่เมือง Chamorix, France นับเป็นเวลา 28 ปี หลังจากการกลับมาของ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก(สากล) ฤดูร้อน ในปี ค.ศ. 1896 ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) การแข่งขันทั้งสองประเภท (ฤดูร้อน และ ฤดูหนาว) มีขึ้นในปีเดียวกัน ทุก 4 ปี แม้ว่าประเทศเจ้าภาพจัดการแข่งขัน และช่วงเวลาจะแตกต่างกัน แต่เป็นภาระให้กับชาติสมาชิกที่สามารถส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสองประเภท ได้แก่ชาติจากยุโรป อเมริกาเหนือ และบางชาติจากเอเซีย IOC ตกลงให้การแข่งขันแยกออกจากกัน และมีขึ้นในช่วง 2 ปี หลังจากจบการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ฤดูร้อน (1992) กำหนดให้การแข่งขันครั้งที่ 17 ปี ค.ศ. 1994 Lillehammer, Norway นับว่าเป็นเวลาเพียง 2 ปี หลังจากครั้งที่ 16 - Albertville, France จัดขึ้นในปี ค.ศ. 1992 และมีต่อเนื่องไปทุก 4 ปี ตั้งแต่นั้นมา

การแข่งขัน Winter Olympic ในระยะแรกจะมีชาติจากประเทศที่มีหิมะตกตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันจะเห็นว่า นักกีฬาทั่วทุกมุมโลกมีส่วนเข้าร่วมการแข่งขัน อันเนื่องจากพลเมืองของชาติต่างๆ ได้ไปตั้งรกรากในประเทศที่มีอากาศหนาว อนุชนที่มีความสามารถ ก็มีสิทธิกลับไปรับใช้ชาติของที่พ่อ แม่ พี่ น้อง ของตัวเองได้

สหรัฐอเมริกา เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิก ฤดูหนาว รวม 4 ครั้ง ที่ 1932 Lake Placid, New York, 1960 Squaw Valley, California, 1980 Lake Placid, NY., และ 2002 Salt Lake City, Utah

ประเทศไทยเข้าร่วมกีฬาโอลิมปิก ฤดูหนาว ครั้งแรก ในปี ค.ศ. 2002 -Salt Lake City, USA ซึ่งครั้งนั้นมีนักกีฬาไทยเข้าร่วมแข่งขัน Alpine Skiing & Cross-Country Skiing รวม 4 คน (ชาย 2 หญิง 2) และมีชาติจากเขตอาเชียน ได้แก่ มาเลเซีย (2) ฟิลิปปินส์ (2) สิงค์โปร (1) และ Timor-Leste (1) เข้าร่วมด้วยเช่นกัน

การแข่งขัน PyeongChange 2018 นับว่าได้รับความร่วมมือจากชาติสมาชิกได้เป็นอย่างดี นับเป็นประวัติศาสตร์ของการแข่งขัน Winter Olympic มีนักกีฬา 2920 คน จาก 92 ชาติสมาชิก ลงแข่งขัน 102 รายการของ 15 ประเภทกีฬา แม้ว่าคณะกรรมการโอลิมปิกของรัสเซีย จะถูกทำโทษจากปัญหาของการตรวจสารต้องห้าม แต่ IOC พิจารณายินยอมให้นักกีฬาที่ผ่านในรอบการคัดเลือกและแสดงผลจากการตรวจเข้าร่วมการแข่งขันในนาม “Olympic Athletes from Russia” (OAR) รวมทั้งใช้ธงของโอลิมปิกในพิธีเปิด-ปิดการแข่งขัน รวมทั้งใช้เพลงโอลิมปิกแทนเพลงชาติรัสเซียในพีธีรับมอบรางวัลเหรียญทอง

และเป็นอีกครั้งที่ ทีมนักกีฬาจากเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ร่วมทีมลงแข่งขันในนาม “เกาหลี” ภายใต้ธงโอลิมปิกแทนธงชาติจากทั้งสองประเทศ ให้โอกาสนักกีฬาหญิงจากเกาหลีเหนือ ร่วมกันส่งต่อคบเพลิงให้กับคนสุดท้ายในพิธีเปิดการแข่งขัน ทั้งๆที่เกาหลีเหนือ ไม่ได้มีส่วนร่วมในการเสนอตนสมัครเข้าเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน รวมทั้งค่าใช้จ่ายอีกมากมาย น้อยโอกาสที่จะได้เห็นธงชาติเกาหลีใต้ในสนามแข่งขันและที่อื่นๆ

ก็ได้แต่สงสัยว่า จะมีชาติไหนบ้างหนอ ยินยอมให้กับอีกชาติอื่นเข้ามาร่วมกันแบบนี้ เห็นหลายชาติมีแต่การแบ่งพรรคแบ่งพวก ขัดขวางอีกฝ่ายหนึ่งในชาติเดียวกันอยู่ตลอดเวลา

ผลการแข่งขันเมื่อจบลง

รายชื่อ 6 ชาติ ที่ได้รับความสำเร็จจากการแข่งขัน ตามลำดับ เหรียญทอง เงิน และทองแดง

นอร์เวย์ 14 -14 - 11 รวม 39 เหรียญ
เยอรมัน 14- 10 - 7 รวม 31 เหรียญ
แคนาดา 11 - 8 - 10 รวม 29 เหรียญ
สหรัฐฯ 9- 8 - 6 รวม 23 เหรียญ
เนเธอร์แลนด์  8 - 6 - 6 รวม 20 เหรียญ
เกาหลีใต้ (เจ้าภาพ) 5 - 8 - 4 รวม 17 เหรียญ

แคนาดาพลาดหวังจากเหรียญทอง Ice Hockey ทั้งชายและหญิง อาจจะเป็นความผิดหวังมากที่สุดของการแข่งขันในครั้งนี้ก็เป็นได้

ในความรู้สึกส่วนตัว การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ฤดูร้อนกับ ฤดูหนาว แตกต่างในด้านความรู้สึกของนักกีฬารวมทั้งแฟนกีฬาที่ติดตาม จะเห็นได้ว่านอกเหนือไปจากการสร้างมิตรภาพของนักกีฬาด้วยกัน หากพิจารณาถึงประเภทกีฬาที่จัดการแข่งขัน กีฬาฤดูหนาว มีเพียง 1 จาก 15 ประเภทกีฬา นักกีฬาต้องปะทะกันในการแข่งขัน คือ Ice Hockey นอกจากนั้นจะเป็นการแข่งขันแสดงถึงความสามารถส่วนตัว(รวมทั้งทีมเวิคส์) แบบไม่ต้องมีการปะทะกับชาติอื่น เมื่อผลการแข่งขันออกมา นักกีฬาจะแสดงความยินดีกับชาติอื่นที่มีความสามารถได้ดีกว่า อาจจะมีการยื่นประท้วงบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดาของการแข่งขัน ความแตกต่างในเรื่องนี้เปรียบเทียบกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ฤดูร้อน มีกีฬา 17 ใน 28 ประเภทกีฬา ต้องมีการปะทะกันในการแข่งขัน ในจำนวนนั้น 4 ประเภทกีฬามีตาข่ายกั้นแบ่งข้าง (แบตมินตัน วอลเลย์บอล เทนนิส และ เทเบิลเทนนิส) อีก 13 ประเภทกีฬา ต้องปะทะกันด้วยพละกำลัง แม้ว่าจะมีกฏกติกาข้อบังคับก็ตาม เช่น มวยสากล เทควันโด ฮอกกี้ มวยปล้ำ บาสเก็ตบอล ฟุตบอล รักบี้ (7 คน) เป็นต้น จากที่สังเกตุ จะเห็นว่า กีฬาโอลิมปิก ฤดูหนาว ความเป็นมิตรของนักกีฬาแตกต่างกับกีฬาโอลิมปิก ฤดูร้อน แต่ก็ต้องยอมรับ เพราะเป็นประภทกีฬาที่ต้องต่อสู้ ปะทะกันมาตั้งแต่สมัยเริ่มต้นกีฬาโอลิมปิก(โบราณ)

บทบาทของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล มีความคิดเห็นแตกต่างไปจากในอดีต ในสมัยก่อนๆ กำหนดการคัดเลือกประเทศเจ้าภาพจัดการแข่งขันหมุนเวียนไปตามเขตทวีปต่างๆ ก่อนที่จะกลับมาในแถบเดียวกัน จะเห็นได้ว่า การแข่งขันฤดูหนาวครั้งนี้ที่เกาหลีใต้ (เอเซีย) และครั้งต่อไปในปี ค.ศ. 2022 จะมีที่ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในเขตทวีปเอเซียด้วยกัน รวมทั้งให้สิทธิกับประเทศเจ้าภาพ สามารถเพิ่มกีฬาที่นิยมในประเทศ(เจ้าภาพ) หรือเป็นที่รู้จักกันว่า “กีฬาชาวบ้าน” เพิ่มได้อีก 5 ประเภท

กำหนดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกตามปรกติจะมีขึ้นในระหว่าง 16-17 วัน (พิธีเปิดถึงพิธีปิด) แต่เนื่องจากมีชาติสมาชิก และรายการกีฬาแข่งขันมากขึ้น กีฬาบางประเภทอาจจะเริ่ม หรือตกรอบก่อนพิธีเปิดการแข่งขันก็เคยปรากฏ นักกีฬามีโอกาสเข้าพักในหมู่บ้านนักกีฬาโอลิมปิกอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ ก่อนพิธีเปิดการแข่งขัน เพื่อปรับตนให้เข้ากับสภาวะอากาศของประเทศเจ้าภาพ มีโอกาสมาอยู่ร่วมกับชนชาติจากทั่วทุกมุมโลก แสงสีสรรค์ในหมู่บ้านนักกีฬาโอลิมปิก เปรียบเสมือนอยู่ “On Top of The World” การแลกเปลี่ยนเข็มที่ระลึกระหว่างชาติมักจะเป็นจุดเด่นในหมู่นักกีฬาด้วยกัน ปัญหาจากสมาคมกีฬาต่างๆ ร่วมแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก อาจจะมีผลให้ IOC ถอนประเภทกีฬานั้นออกจากการแข่งขัน ดังเช่น มวยสากล (Boxing) ซึ่งนับว่าเป็นกีฬาหลักของไทยเรา ที่จะได้รับเหรียญรางวัล คาดว่าคงจะทราบผลที่แน่นอนในอนาคต

บทสรุป

NBC Universal และเครือข่ายได้รับลิขสิทธิการถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ มากกว่า 2,400 ชั่วโมง เป็นของแน่ที่จะต้องถ่ายทอดการแข่งขันที่ทีมของสหรัฐอเมริกาลงแข่งเป็นหลัก รวมทั้งไปตามชาติสมาชิกต่างๆในการแข่งขันกีฬานัดสำคัญ และยังได้รับลิขสิทธิจาก IOC ต่อไปจนถึงปี ค.ศ. 2032 ซึ่งรวมทั้งการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ฤดูร้อน Los Angeles 2028 ยังได้นำนักกีฬาที่พบกับความสำเร็จจากการแข่งขันแต่ละประเภทในอดีตมาร่วมเป็นวิทยากร ให้ความคิดเห็น ข้อแนะนำ และจุดเด่น เพิ่มความรู้และง่ายต่อความเข้าใจในการแข่งขันกีฬาแต่ละประภท
สิ่งที่น่าประทับใจกับการค้นหา ประวัติที่มาของนักกีฬา นับตั้งแต่เยาว์วัย จะเห็นว่า มีความเป็นมาอย่างใด ค่าใช้จ่ายมากมายจะมาจากพ่อ-แม่ ญาติ พี่น้อง กว่าจะได้มีโอกาสเข้าร่วมมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ในโลก นักกีฬาต้องผ่านการคัดเลือกและข้อกำหนดมากมายหลายประการ ไม่เฉพาะแต่ความสามารถ ยอดเยี่ยมในประเทศของตน ยังต้องรวมไปถึงกำหนดมาตราฐาน สถิติ ที่ IOC ตั้งไว้ กีฬาบางประเภทยังจำกัดอายุของนักกีฬา การที่จะถูกเรียกว่า “เป็นนักกีฬาโอลิมปิก” นั้น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถ “หาซื้อกันได้” และย่อมขึ้นอยู่กับ “ช่วงจังหวะชีวิตของนักกีฬาแต่ละคน” อีกด้วย

หลังจากการแข่งขันในรอบแรกผ่านไป หลายชาติหมดวาระลงแข่งขัน ได้ถอนนักกีฬากลับประเทศเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย หมู่บ้านนักกีฬาที่เคยแน่นขนัดทั่วทุกหนแห่ง การแต่งกายตามแบบฉบับของแต่ละชาติ กลับกลายเป็นที่ “โล่งเตียน” หัวใจที่เคย “พองโต” กลับกลายเหมือนกับ “แฟบลง” และรอวันเวลาที่ทุกคนจะต้องจากกันอีก ในวันพิธีปิดการแข่งขัน และจากนั้น ทุกคนก็จำเป็นต้องกลับลงมาสู่ “โลกแห่งความเป็นจริง” กลับไปมีชีวิตกับ ครอบครัว ญาติ พี่น้อง และหน้าที่การงาน(หากยังมีอยู่)หลังจากที่ขาดงานไปไม่น้อยกว่า 2-3 เดือน แต่นักกีฬาในปัจจุบัน ก็คือการประกอบอาชีพอย่างหนึ่ง มีรายได้มากพอกับการดำรงค์ชีพ (หากรู้จัก) และยังมีความมุ่งหวังว่าจะได้พบกันอีกใน 4 ปี ข้างหน้า เป็นอย่างน้อย

สุดท้ายนี้ต้องขอแสดงความยินดีกับ นครลอสแอลเจลิส จะได้มีโอกาสต้อนรับ “ชาวโลก” ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ฤดูร้อน ครั้งที่ 34 –Los Angeles 2028 เชื่อว่าชาวไทยในย่านนี้ ตั้งใจและมุ่งหวัง รอคอยการกลับมาของกีฬาโอลิมปิก ที่ นครลอสแองเจลิส อีกครั้ง หลังจากที่ขาดหายไปตั้งแตปี ค.ศ. 1984

ขอบคุณที่สนใจติดตาม จนกว่าจะได้พบกันอีก
ยงยุทธ สังขโกวิท



 




นำเสนอข่าวโดย : ภาณุพล รักแต่งาม,
แหล่งที่มาข่าวโดย : สยามทาวน์ยูเอส
05-06-2019 "ควันหลงกีฬาประเพณีแอลเอ-ซานฟรานฯ ครั้งที่ 63" (31/18575) 
05-06-2019 ทีมฟุตบอล (หญิง) ชาติไทยเข้าร่วม FIFA Women’s World Cup ครั้งที่ 8 (1/3528) 
06-06-2018 “ควันหลง” จากการแข่งขันกีฬาประเพณี “คนไทย” ในแคลิฟอร์เนีย ครั้งที่ 62 (0/5820) 
25-04-2018 “วันวาน” การแข่งขันกีฬาประเพณีของ “คนไทย” ในแคลิฟอร์เนีย (0/5218) 
28-02-2018 เกร็ดความรู้จากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ฤดูหนาว ครั้งที่ 23 (0/3984) 

แสดงความคิดเห็น

Name :

Detail :




ฉบับที่
621
siamtownus newspaper








Hots Clip VDO ดูทั้งหมด

ขออภัยสัญญาณ VDO มีปัญหากำลังดำเนินการแก้ไข