ถือว่าห่างไกลมากกับปัจจุบันนี้ ที่อาหารไทยเป็นที่รู้จักพอๆ กับอาหารจีน อาหารญี่ปุ่น หรืออาหารอิตาเลี่ยน เรามีตลาดไทยขนาดใหญ่มากมาย มีเครื่องปรุงทุกอย่าง แถมว่ากันว่า ของที่ถูกส่งมาขายให้พวกเราที่นี่นั้น บางอย่างเป็นของที่ผ่านการคัดเกรดระดับส่งออก คุณภาพดีกว่าที่ขายในเมืองไทยเสียด้วยซ้ำ
ต้องยกประโยชน์ให้คนไทยในอเมริกา โดยเฉพาะในแอลเอ ที่เป็นส่วนสำคัญในการทำให้อาหารไทยกลายเป็นอาหาร “ท็อปไฟว์” ของอเมริกา ในแคลิฟอร์เนียมีร้านอาหารเกิดขึ้นมากกว่าสามพันร้าน เป็นแหล่งงานของคนไทยมากมายอย่างที่เราทราบกันดี
ในปี 1985 มีการจัดงาน ”ไทยฟู๊ดเฟสติวัล” ที่ Pacific Design Center ย่านเวสท์ แอลเอ โดย คุณอภิธาน เทพประสิทธิ์ นายกสมาคมนักธุรกิจและการค้าไทย (สภาหอการค้าไทย) คนที่ 12 โดยได้รับการสนับสนุนจาก กงสุลใหญ่ฯ สุพจน์ ธีระเกาศัลย์ และคุณกุญญพันธ์ แรงขำ ผู้อำนวยการไทยเทรด หรือสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ในขณะนั้น ในงานมีกิจกรรมมากมาย รวมถึงการสาธิตการปรุงอาหารไทยด้วย ถือเป็นเทศกาลอาหารไทยที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา (นับถึงขณะนั้น) มีผู้สนใจเข้าชมร่วมงานกว่าหมื่นคนทีเดียว
ในปี 1985 นี้ คุณ พิสิษฐ์ และคุณพัชรี บุญสมบัติ ได้เริ่มต้นบุกเบิก ”อาหารไทยพเนจร” หรือรถทรัคขายอาหารไทยขึ้น ถือเป็นรถทรัคอาหารไทยคันแรกของอเมริกา เพราะยุคนั้นมีแต่รถทรัคขายอาหารแม็กซิกัน และอาหารอเมริกันงายๆ จำนวนแซนวิช ฮอทด็อค แฮมเบอร์เกอร์ หรือไม่ก็รถขายขนม ขายไอสกรีม ขับเร่ไปตามถนนสายต่างๆ ก่อนจะจอดตามแหล่งงาน หรือโรงเรียนในช่วงเช้าและเที่ยง
คุณพิสิษฐ์และคุณพัชรีได้นำเอาอาหารไทย เช่น ผัดไทย ไก่ย่างข้าวเหนียว เนื้อ หมู ไก่ บาร์บีคิว กุ้ง เอ็กซ์โรลล์ รวมทั้งข้าวผัด มาจำหน่ายเป็นอาหารหลัก โดยเร่ไปขายตามงานแฟร์ต่างๆ เริ่มต้นที่ลอส แอนเจลิส และเมืองต่างๆ ทั่วรัฐแคลิฟอร์เนียร์ งโดยมีการศึกษาล่วงหน้าอย่างละเอียดจากคู่มือที่เรียกว่า Fair Guides Book ว่า มีงานเทศกาลหรืองานแฟร์ที่ไหนเมื่อไหร่ ทำให้รถทรัคอาหารไทยคันแรก มีงานทำตลอดทั้งปี
อาหารไทยจากรถทรัคของคุณพิสิษฐ์และคุณพัชรีนั้น ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม You are the Best จากงานแฟร์ใหญ่ระดับประเทศของมอนเทอเรย์ เคาน์ตี้ (Monterey County Fair) อีกด้วย 1985 ด้วย
ต่อมาก็มีผู้ยึดอาชีพขายอาหารตามงานแฟร์มากขึ้น หลายคนประสบความสำเร็จ บางคนทำได้ไม่กี่ครั้งก็เลิก เพราะงานลักษณะนี้ จะกำไรหรือขาดทุนก็ขึ้นอยู่กับความขยัน อดทน รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนด้วย โดยส่วนใหญ่แล้ว แรงงานจะเป็นสมาชิกในครอบครัว จะมีการจ้างคนนอกบ้างก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ในช่วงประมาณสิบปีที่ผ่านมา เกิดกระแสรถทรัคอาหารระดับหรู แบบที่เรียกว่า gourmet food truck เกิดขึ้นในแอลเอ และลามไปทั่วประเทศ ทำให้มีรถทรัคจำหน่ายอาหารสารพัดชนิดมากมาย แทนที่จะป็นอาหารแม็กซิกัน หรืออาหารอเมริกันง่ายๆ แบบสมัยก่อน... ว่ากันว่าเฉพาะในแอลเอ มีรถทรัคอาหาหารดีๆ มากกว่า 700 คัน แต่ละคนมีผู้ติดตามข่าวคราวทางโซเชียลมีเดียไม่ใช่น้อย
รถทรัคอาหารไทยระดับ gorumet คันแรกของอเมริกา น่าจะเป็นรถชื่อ Street of Thailand ของคุณแพ๊ต ทริสา เลียวสิริพงศ์ อดีตนักร้องและพิธีกรที่ชาวแอลเอ เรารู้จักกันดี เธอเอาอาหารไทยดังๆ กว่าสิบอย่าง ใส่รถทรัคลวดลายแบบไทยๆ ออกไปขายตามริมถนนหนทาง จนเป็นที่รู้จักของบรรดานักชิมอาหารจากรถทรัคเป็นอย่างดี
อีกคันหนึ่งเป็นของคุณเดวิด ทิวาศาสตร์ ลูกชายเจ้าของโรงแรมลินคอล์นพลาซ่า เมืองมอนเทอเรย์ปาร์ค ที่นอกจากจะเปิดร้านอาหารในเครือ Sticky Rices หลายแห่งแล้ว ยังมีรถทรัคขายอาหารไทยชื่อเดียวกันด้วย โดยจะไปจอดตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ รวมถึงรับออกงานอีแวนส์ต่างๆ ด้วย ข่าวว่าประสบความสำเร็จมากทีเดียว
นอกจากนี้ก็มีรถทรัคอาหารไทยอีกหลายคัน เช่น Arroy Food Truck, White Guy Pad Thai, BKK 101 Thai Cuisine, Thai Guys Truck เป็นต้น แต่หลายๆ คัน ผู้เขียนก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่ามีเจ้าของเป็นคนไทยหรือไม่...
ต้องขอบคุณคุณพิสิษฐ์และคุณพัชรี บุลสมบัติ ที่เป็นผู้จุดประกายและบุกเบิกในธุรกิจ “อาหารไทยพเนจร” จนคนรุ่นหลังสามารถต่อยอดได้อย่างที่เห็นกันตอนนี้...