ข่าวเด่นเมืองไทย
ข่าวเด่นเมืองไทย
รายงานหน้าหนึ่ง : ปลดล็อค”น้ำดอกไม้สีทอง”สู่อเมริกา











โดย คมชัดลึก

นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับเกษตรกรชาวสวนมะม่วงไทยและความภูมิใจของนักวิจัยไทย หลังปลดล๊อคการส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาที่มีมูลค่ารวมนับพันล้านบาทต่อปี เมื่อสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) BEDO มหาวิทยาลัยนเรศวรและสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติผนึกกำลังร่วมทำการวิจัยแบบมุ่งเป้าตามนโยบายรัฐบาลภายใต้โครงการ“การศึกษาวิจัยมะม่วงให้ได้คุณภาพ มาตรฐานส่งออก”

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพหลังการฉายรังสีแกมมา และการลดความเสียหายของมะม่วงฉายรีงสีแกมมา ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ,สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) BEDO ,มหาวิทยาลัยนเรศวร และ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ และงานวิจัยประสบผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2562 การส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองสามารถส่งออกสู่ตลาดสหรัฐอเมริกาได้อย่างเต็มภาคภูมิ และ ได้รับการรับรองจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา
แม้ที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาจะปลดล็อคให้ไทยส่งมะม่วงที่ผ่านการฉายรังสีได้มาตั้งแต่ปี 2550 แต่ทว่ามะม่วงไทยก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในตลาด เพราะทั้งรูปลักษณ์และเนื้อมะม่วงที่ไม่ได้คุณภาพตามความต้องการของผู้บริโภค  โดยผลไม้สดของไทยที่สหรัฐอมริกได้อนุญาตให้นำเข้าได้มี 6 ชนิดได้แก่ มะม่วง ลำไย มังคุด ลิ้นจี่ เงาะ และสับปะรด แต่จะต้องได้รับการฉายรังสีก่อน

ความสำเร็จในครั้งนี้นับเป็นการเปิดตลาดผลไม้ไทยสู่สหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค โดยเฉพาะมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองซึ่งเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ซึ่งที่ผ่านมาได้พบปัญหาการเกิดเส้นดำบริเวณผิวเปลือก และเกิดเนื้อสีน้ำตาล และส่วนใหญ่มักเกิดบริเวณส่วนแก้มของผล จึงไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในสหรัฐฯ

 "ต้องขอเรียนว่ามีความภูมิใจที่เป็นผู้บริหารจัดการโครงการวิจัยเพื่อไปสู่เป้าหมายและได้ผลลัพตามที่ตั้งเป้าเอาไว้ เริ่มตั้นจากเมื่อ 3 ปีก่อน ดิฉันมีภารกิจการงานที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐฯและมีโอกาสพบกับท่านทูตเกษตรในสมัยนั้น ท่านได้โชว์ภาพของมะม่วงไทยที่ส่งเข้าไปอเมริกาแล้วมีอาการไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคปลายทาง ท่านบอกว่าอาจารย์ช่วย มีทางใดที่จะหาคำตอบให้กับมะม่วงไทยที่จะส่งเข้ามายังสหรัฐอเมริกาได้และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค"

รศ.ดร.นภาวรรณ นพรัตนราภรณ์ ผู้จัดการโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยแผนงานวิจัยที่มุ่งเป้าตอบโจทย์สนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เกริ่นที่มาของความสำเร็จในการเสวนาหัวข้อ“วิจัยปลดล็อคส่งออกมะม่วงไปอเมริกา” ณ ห้องวิภาวดี โรงแรมเซนทาราแกรนด์ ลาดพร้าว   ความสำเร็จในครั้งนี้จึงเป็นการสร้างความเข้าใจ และ องค์ความรู้เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและเพื่อต่อยอดให้กับกลุ่มธุรกิจและผู้ประกอบการที่ต้องการขยายตลาดการค้าผลไม้สดของไทยสู่สหรัฐอเมริกา และ ตลาดต่างประเทศอื่นๆ ต่อไป 

นับเป็นการเปิดตลาดผลไม้ไทยที่สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ประเทศชาติ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองแม้เป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ทำรายได้ให้กับประเทศไทย สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีความต้องการของตลาดสูง เนื่องจากมีลักษณะเด่น คือ เมื่อผลสุก ผิวของเปลือกมีสีเหลืองนวลถึงเหลืองทอง เนื้อสีเหลืองมีกลิ่นหอม จึงเป็นที่ต้องการของตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา

"ประเทศไทยเริ่มส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองไปยังสหรัฐอเมริกามาในปี 2551 โดยผ่านกระบวนการฉายรังสี แต่หลังฉายรังสีและส่งออกไปถึงปลายทางที่สหรัฐฯได้ประสบปัญหาด้านคุณภาพ และพบปัญหาการเกิดเส้นดำบริเวณผิวเปลือก และเกิดเนื้อสีน้ำตาล ส่วนใหญ่มักเกิดบริเวณส่วนแก้มของผล ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถส่งออกผลมะม่วงสดไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาได้มาจนถึงปัจจุบัน"รศ.ดร.นภาวรรณชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น

ขณะที่ ศ.น.พ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)กล่าวยอมรับว่า แต่ละประเทศมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันเ อย่างช่นญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จะต้องผ่านการอบไอน้ำ ส่วนประเทศเป็นในเครือสหราชอาณาจักรจะต้องผ่านการรมควัน  ขณะที่สหรัฐอเมริกาก็มีข้อจัดกัดเหมือนกัน โดยมะม่วงส่งออกได้จะต้องผ่านการฉายรังสีก่อนตามมาตรฐานที่กำหนดในปริมาณ 400 เกรย์ โดยได้อนุญาตให้เอาเข้าสหรัฐฯได้มาตั้งแต่ปี 2550 

"ที่จริงสหรัฐฯอนุญาตให้นำเข้ามะม่วงน้ำดอกไม้ไทยที่ผ่านการฉายรังสีมาตั้งแต่ปี 2550 แต่พอเอาเข้าไปก็ไม่่มีคนซื้อ ขายไม่ได้ จึงเป็นปัญหา  เมื่อทำได้แล้วก็ไม่ได้แปลว่าจะสิ้นสุดเพียงแค่นี้ ต้องขยายผลต่อไปทำอย่างไรให้ความรู้นี้ถ่ายทอดแก่ผู้ประกอบการเพื่อเขาจะได้มีองค์ความรู้นำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป"ผอ.วช.กล่าว

ดร.พรเทพ นิศามณีพงษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(สทน.)กล่าวว่าเป็นโปรเจกค์ที่ดีมากสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล วิจัยจากต้นน้ำถึงปลายน้ำสำหรับการฉายแสงผลไม้นั้นสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ได้ดำเนินการมากว่า 10 ปีแล้ว  โดยได้ทำการฉายรังสีในผลไม้ 7 ชนิดด้วยกันและมีกระบวนการขั้นตอนศึกษาค้นคว้าจนได้มาตรฐาน

"สหรัฐเมริกา ออสเตรเลีย จะคอนเซินเรื่องนี้มาก สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ไข่แมลงต่างๆ ที่มองไม่เห็นแล้วไปเติบโตในประเทศเขา การฉายรังสีเป็นเทคโนโลยีการรักษาคุณภาพ รสชาดความอร่อยของเนื้อในผลไม้ต่าง ๆ เราทำมา 10 กว่าปีแล้วที่ฉายรังสีผลไม้ ตอนนี้กำลังประสานกับกระทรวงพาณิชย์มากขึ้นในเรื่องของการตลาด เปิดตลาดใหม่ ๆ เพิ่งขึ้น ถ้าเปิดได้ไม่ต้องเอามาทิ้งกันหรือขายในราคาถูกๆ ถ้ากระทรวงเกษตรและกระทรวงพาณิชย์ผนึกกันได้ เกษตรกรก็จะมีความมั่งคั่งในอนาคต"ผอ.สทน.กล่าวย้ำ

ดร.สุวิมล เจตะวัฒนะ หัวหน้าฝ่ายบริการวิชาการ สทน.ระบุว่าการฉายรังสีผลไม้สดนั้นเพื่อป้องกันแมลงที่ไปไข่ในผลไม้และหลุดออกไปแพร่พันธุ์ในประเทศปลายทาง โดยสิ่งสำคัญในการฉายรังสีผลไม้ตามมาตรฐานอเมริกาคือปริมาณต้องไม่ต่ำกว่า 400 เกรย์ และปริมาณสูงสุดต้องไม่เกิน 2 เท่าของปริมาณรังสีต่ำสุด อีกทั้งผลไม้ยังต้องแข็งแยงทนต่อการตรวจสอบด้วยรังสีเอ็กซ์อีก 2 ครั้งก่อนถึงปลายทางด้วย

ด้าน ศ.พิเศษดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวรเผยว่าเป้าหมายของมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งเป็นแหล่งปลูกผลไม้ที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองทีี่มีการปลูกกันมาในจ.พิษณุโลก พิจิตรและสุโขทัย โดยจะมุ่งเน้นการวิจัยเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย เกษตรกรและผู้บริโภคเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งมหาวิทยาลัยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากหน่วยงานเครือข่ายองค์กรวิจัยมาโดยตลอด

"สิ่งที่เราได้รับความร่วมมือไม่ว่าจากวช.ก็ดี จากบีโด้ก็ดีทำให้นักวิจัยนเรศวร ซึ่งดร.พีระศักดิ์(ฉายประสาท)เป็นหนึ่งในนักวิจัยที่สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนได้"อธิบการบดีม.นเรศวรกล่าวย้ำ 
 
ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท เจ้าของฉายา"มิสเตอร์มะม่วง" ในฐานะนักวิจัยหัวหน้าโครงการ“การศึกษาวิจัยมะม่วงให้ได้คุณภาพ มาตรฐานส่งออก”ได้อธิบายขั้นตอนการทำงานว่าเริ่มจากการจัดสวนให้ได้มาตรฐานจีเอพี(GAP) จากนั้นก็จะต้องห่อผลในระยะ 50-60 วันหลังดอกบานส่วนขั้นตอนหลังเก็บเกี่ยวจะต้องทำความสะอาดด้วยน้ำตามขั้นตอนปกติ จากนั้นคัดขนาดแล้วหุ้มด้วยโฟมเพื่อบรรจุกล่องป้องกันไม่ให้เกิดกระทบกระเทือง โดยใช้กล่องตามมาตตรฐานตามมาตรฐานอเมริกา ก่อนนำเข้าฉายรังสีตามมาตรฐานที่กำหนด

"ความสำเร็จครั้งนี้ก็มาจากหลายองค์กรร่วมมือกัน เช่นผลผลิตมะม่วงต้องมาจากสวนที่มีการจัดการที่ดีมีคุณภาพตามมาตรฐานจีเอพี(GAP) การจัดการหลังเก็บเกี่ยว ความเข้มข้นของรังสีในระดับที่เหมาะสมและกระบวนการและระยะเวลาขนส่งจากประเทศไทยสู่ประเทศปลายทาง ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จะต้องไปด้วยกัน"หัวหน้าโครงการวิจัยฯคนเดิมกล่าว

ส่วน มนตรี ศรีนิล นายกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทยกล่าวเพียงสั้นๆ ว่างานวิจัยชิ้นนี้น่าจะมีโอกาสนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการส่งออกมะม่วงมหาชนกไปยังประเทศออสเตรเลียได้ในอนาคต เนื่องจากเป็นอีกตลาดสำคัญสำหรับผลไม้อย่างมะม่วงไทย โดยเฉพาะมะม่วงมหาชนก ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคชาวออสเตรเลียเป็นอย่างมาก
 นับเป็นอีกก้าวของมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองของไทยในส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา หลังทุกภาคส่วนร่วมมือกันแก้ปัญหาต่างๆ จนประสบความสำเร็จทั้งในเรื่องคุณภาพและมาตรฐานการฉายรังสีตามกำหนด จนได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคในประเทศปลายทางเป็นอย่างดี

 




นำเสนอข่าวโดย : ภาณุพล รักแต่งาม,
แหล่งที่มาข่าวโดย : สยามทาวน์ยูเอส
21-02-2021 วงการบันเทิงสูญเสีย ไพโรจน์ ใจสิงห์ นักแสดงมากฝีมือ (0/15391) 
30-10-2019 แจงระงับสิทธิจีเอสพี กระทบแค่1,800ล้าน (25/5613) 
16-10-2019 ส่งออกข้าววืดเป้า9ล้านตัน ถูกเวียดนามตามบี้ทุกตลาด (0/3198) 
25-09-2019 รายงานหน้าหนึ่ง : ดอกเตอร์จากฟินแลนด์ ยัน รมช.ไทยลอกวิทยานิพนธ์ (2/3543) 
19-09-2019 รายงานหน้าหนึ่ง : ปลดล็อค”น้ำดอกไม้สีทอง”สู่อเมริกา (0/2308) 

แสดงความคิดเห็น

Name :

Detail :




ฉบับที่
619
siamtownus newspaper








Hots Clip VDO ดูทั้งหมด

ขออภัยสัญญาณ VDO มีปัญหากำลังดำเนินการแก้ไข